Asimo






พ.ศ. 2547
รุ่นต่อไปของอาซิโม

ก้าวใหม่ของการเคลื่อนที่ด้วยสองขาทำให้การทำงานและปฏิกิริยาตอบสนองต่อมนุษย์ของอาซิโมดีขึ้น
อาซิโมในรูปลักษณ์ใหม่นี้ได้ถูกเปิดเผยในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2547 การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ช่วยให้อาซิโมมีกระบวนการจัดการข้อมูลและตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
และคล่องแคล่วมากขึ้น
ในสภาวะแวดล้อมจริงของโลก ความสำเร็จจากการพัฒนาฮาร์ดแวร์ใหม่ที่มีการตอบสนองสูง
และเทคโนโลยีการควบคุมท่าทางทำให้อาซิโม
สามารถวิ่งได้ที่ความเร็ว 3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเดินเร็วขึ้นจาก 1.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในรุ่นก่อน
เป็น 2.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
นอกจากนั้นแล้วเซนเซอร์ตรวจจับพื้นผิวของพื้น เซ็นเซอร์ตรวจจับสัญญาณภาพ และเซ็นเซอร์ตรวจจับแรงกระทำทำให้อาซิโมมีความคล่องแคล่วมากขึ้น สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายหลบหลีกสิ่งกีดขวางโดยไม่ต้องหยุดและเคลื่อนไหวเข้ากับมนุษย์ได้ อาซิโมรุ่นใหม่เป็นหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ตัวแรกที่วิ่งได้ ด้วยความสูง 130 เมตร น้ำหนัก 54 กิโลกรัม

เทคโนโลยีหลักๆ ที่ได้พัฒนาขึ้นในอาซิโมรุ่นใหม่นี้ ประกอบด้วย

เทคโนโลยีการควบคุมท่าทาง

การผสมผสานระหว่างฮาร์ดแวร์ควบคุมการตอบสนองประสิทธิภาพสูงที่พัฒนาขึ้นใหม่ และเทคโนโลยีใหม
่ในการควบคุมท่าทาง ทำให้อาซิโมสามารถโน้มตัวหรือหันลำตัวได้อย่างคล่องแคล่วฉับไว
เพื่อรักษาการทรงตัว
ป้องกันเท้าลื่นไถล
และการหมุนตัวกลางอากาศในขณะวิ่ง


ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการควบคุมท่าทางที่ทำให้อาซิโมวิ่งได้
การทำให้อาซิโมวิ่งได้สำร็จต้องเอาชนะอุปสรรคเพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญ 2 ประการ ได้แก่
1) การกระโดดที่แม่นยำ และการรับแรงกระแทกขณะเท้าถึงพื้น
2) การป้องกันเท้าลื่นไถลและหมุนตัวในขณะเคลื่อนที่ด้วยความร็วสูง


การกระโดดที่แม่นยำ และการรับแรงกระแทกขณะเท้าถึงพื้น
หุ่นยนต์ตัวหนึ่งจะวิ่งได้ก็ต่อเมื่อสามารถทำกิริยาเดิมๆ ได้อย่างต่อเนื่องซ้ำๆ กัน
ซึ่งได้แก่การถีบเท้าขึ้นจากพื้น
การเหวี่ยงขาไปข้างหน้า การวางเท้าลงกับพื้นในช่วงเวลากระชั้นชิดมากๆ โดยไม่รีรอ
และการรับแรงกระแทกฉับพลัน
ขณะเท้าถึงพื้น องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ใหม่ของอาซิโมมีความแม่นยำ ตอบสนองได้สูง
และทำงานได้เร็วกว่าอาซิโมรุ่นก่อนถึง 4 เท่า คือวงจรประมวลผลความเร็วสูงที่พัฒนาขึ้นใหม่ มอเตอร์ที่มีกำลังแรงและตอบสนองได้ในระดับสูง
และโครงสร้างของช่วงขาที่มีน้ำหนักเบา และแข็งแรง




การป้องกันการหมุนและการลื่นไถล
แรงกดดันที่ลดลงระหว่างบริเวณใต้เท้ากับพื้น ณ เสี้ยววินาทีที่ยกเท้าขึ้นจากพื้น และทันทีที่เหยียบเท้ากลับลงใหม่ ทำให้หุ่นยนต์มีแนวโน้มที่จะหมุนตัวและลื่นไถลได้มากกว่าตอน
เท้าติดพื้น
การเอาชนะปัญหาเรื่องการหมุนตัวและการลื่นไถลเป็นสิ่งท้าทายที่สุดในการควบคุมการเพิ่มความ
เร็วในการวิ่ง ด้วยการผสมผสานทฤษฏีควบคุมการเดินสองขาที่ฮอนด้าพัฒนาขึ้นมาเอง กับระบบการโน้มตัวและการหมุนตัว
อย่างคล่องแคล่วฉับไว ฮอนด้าได้พัฒนาทฤษฏีหลักการควบคุมแบบใหม่ที่สามารถกำหนดให้อาซิโมวิ่งได้อย่างมีเสถียรภาพ
โดยไม่มีการ
ลื่นไถล

ขณะที่มนุษย์วิ่งวัฏจักรการก้าวเท้าจะอยู่ที่ 0.2 ถึง 0.4 วินาที ขึ้นอยู่กับความเร็วในการวิ่งของแต่ละคน
และระยะเวลาที่ลอยตัวอยู่ในอากาศ หรือช่วงเวลาที่เท้าทั้งสองข้างไม่ติดพื้น โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ
0.05 ถึง 0.1 วินาที สำหรับอาซิโมวัฏจักรการก้าวเท้าอยู่ที่ 0.36 วินาที ส่วนระยะเวลาลอยตัวอยู่ที่
0.05 วินาที ซึ่งเทียบเท่ากับการวิ่งเหยาะๆ
ของคน

เทคโนโลยีการเคลื่อนไหวต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ
อาซิโมสามารถเคลื่อนตัวไปสู่จุดหมายปลายทางได้เองโดยไม่ต้องหยุดชะงัก โดยใช้วิธีเปรียบเทียบเส้นทางที่ปรากฏบนคลังข้อมูลแผนที่ภายในตัวกับข้อมูลจากพื้นที่จริงโดยรอบที่ได้
จากเซ็นเซอร์ตรวจจับบริเวณพื้นผิว ยิ่งไปกว่านั้นอาซิโมยังสามารถเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวได้
โดยอัตโนมัติ
หากเซ็นเซอร์ตรวจจับพื้นผิว และเซ็นเซอร์จับภาพที่ติดตั้งไว้ในส่วนหัวตรวจพบสิ่งกีดขวาง

เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ตรวจจับสัญญาณภาพ และเซ็นเซอร์วัดแรงกระทำประสิทธิภาพสูง
ด้วยอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับภาพการเคลื่อนไหวของบุคคลที่ส่วนหัว และอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับ
แรงกระทำ
ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ที่ข้อมือ อาซิโมจึงสามารถเคลื่อนไหวมือเพื่อตอบสนองได้อย่างสอดคล้องกับบุคคล
ที่ติดต่อด้วย โดยสามารถรับหรือส่งสิ่งของและจับมือทักทายได้เข้ากับจังหวะการเคลื่อนไหว
ของบุคคลนั้นๆ นอกจากนี้ยังสามารถก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยหลังไปตามทิศทางที่มือของอาซิโมถูกดึงหรือผลัก

Design downloaded from Free Templates - your source for free web templates