Antioxidant

สารต้านอนุมูลอิสระมีความสำคัญอย่างไร
          มีงานวิจัยมากมายที่สามารถบ่งชี้ว่า     สารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ    โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร   เช่น โ รคมะเร็ง  โรคเบาหวาน โรคหัวใจ  โรคสมอง (เช่น อัลไซเมอร์) เป็นต้น รวมทั้งช่วยชะลอกระบวนการบางขั้น ตอนที่ทำให้เกิดความแก่   โดยปกติแล้วร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระก่อนที่มันจะทำอันตรายต่อร่างกายเราแต่ถ้ามีการสร้างอนุมูลอิสระเร็ว หรือมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดทันอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น จะสร้างความเสียหายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สารต้านอนุมูลอิสระลดความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้  ๒ ทาง คือ
   1. ลดการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกาย
   2. ลดอันตรายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ

ระบบควบคุมหรือป้องกันอนุมูลอิสระภายในร่างกาย
         ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
   1. กลุ่มของเอนไซม์ ได้แก่ เอนไซม์คะตาเลส (catalase) ซูเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเทส (superoxide dismutase) และกลูตาไธโอน เปอร์ออกซิเดส (glutathione peroxidase) เป็นต้น
   2. กลุ่มของสารและโปรตีนบางชนิด ได้แก่ กลูตาไธโอน (glutathione) ยูเรต (urate) ยูบิควินอล (ubiquinol) อัลบูมิน (albumin) และทรานส์เฟอริน (transferrin) เป็นต้น
   3. กลุ่มของสารอาหารบางชนิด ได้แก่ วิตามิน เบต้า-แคโรทีน (beta-carotene) และฟลาโวนอยด์ (flavonoid) เป็นต้น

สรุปได้ว่า มีวิธีกำจัดสารอนุมูลอิสระอยู่ 2 วิธี   
   1.แบบใช้เอนไซม์
   2.แบบไม่ใช้เอนไซม์
การกำจัดอนุมูลอิสระด้วยเอนไซม์มักมีขีดจำกัด เช่น พันธุกรรมของบางคนสร้างเอนไซม์น้อยกว่าคนอื่น
ส่วนแบบไม่ใช้เอนไซม์นั้นเราสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระได้โดยรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ในพืชผักผลไม้ โดยอนุมูลอิสระจะถูกสารต้านอนุมูลอิสระจับเอาไว้ ทำให้หยุดการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ประการหลังนี้เองที่ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนำมาใช้อวดสรรพคุณการหาขีดความสามารถในการเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระของสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ขั้นแรก  จะเป็นสร้างอนุมูลอิสระขึ้นมาก่อน แล้วจึงเติมสารแอนตี้ออกซิแดนท์ลงไป จากนั้นทำการตรวจวัดหาอนุมูลอิสระที่เหลือหลังจากการเกิดปฏิกิริยา ซึ่งหลัก การนี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย  ขึ้นอยู่กับการเลือกชนิดของตัวกำเนิดอนุมูลอิสระ   และชนิดของตัว ตรวจวัดอนุมูลอิสระ    ดังแสดงในตารางที่ 1 เป็นวิธีการตรวจวัดขีดความสามารถของสารแอนตี้ออกซิแดนท์    ในการยับยั้งอนุมูลอิสระ  ซึ่งเป็นวิธีที่มีการใช้อย่าง แพร่หลายและรายงานไว้โดยนักวิจัยกลุ่มต่าง ๆ สามารถดูได้จากรูปต่อไปนี้

 
 
Design downloaded from Free Templates - your source for free web templates