ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมการจัดการความรู้ หัวข้อ"การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Smart Classroom)"
วันและเวลาที่จัดกิจกรรม :
วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุม 2 อาคารจุฬาภรณ์คณะวิทยาศาสตร์
ลักษณะกิจกรรม/ผลการดำเนินงาน :
คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ หัวข้อ"การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Smart Classroom)" ให้แก่บุคลากรสายวิชาการและผู้ที่สนใจ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุม 2 อาคารจุฬาภรณ์ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้คณาจารย์ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Smart Classroom) และการนำโปรแกรมมาใช้ในการเรียนการสอนได้แก่ การใช้โปรแกรม Kahoot ถาม-ตอบคำถามออนไลน์” การใช้โปรแกรม Plicker เครื่องมือที่ใช้ในระบบการประเมินผลนักเรียนเก็บข้อมูลนักเรียน หรือใช้เป็นกิจกรรมเกมสำหรับการเรียนการสอน” และ “การใช้โปรแกรม ZipGrade เครื่องมือสำหรับตรวจคำตอบ”
ผลการประเมิน :
4.03
การนำไปใช้ประโยชน์ :
คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้นำองค์ความรู้จากกิจกรรมการจัดการความรู้ หัวข้อ"การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Smart Classroom)" มาปรับใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ โดยการนำโปรแกรมมาใช้ในการเรียนการสอนได้แก่ การใช้โปรแกรม Kahoot มาใช้ในการตั้งคำถาม ถาม-ตอบคำถามออนไลน์ และ “การใช้โปรแกรม Zip Grade สำหรับตรวจคำตอบ” ซึ่งการนำโปรแกรมมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น เช่นโปรแกรมถามตอบคำถามออนไลน์ และทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น และสนใจในการเรียนมากขึ้น และการใช้โปรแกรม Zip Grade มาตรวจคำตอบ ทำให้มีความรวดเร็วและสะดวก ในการตรวจข้อสอบ ซึ่งคณาจารย์ที่ได้นำโปรแกรมไปใช้ในการเรียนการสอนได้แก่ - รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี คงดี อัลเดรด ได้นำโปรแกรม Kahoot มาใช้ในการทดสอบนักศึกษาหลังเรียน รายวิชา รายวิชา คอ 362 (กระบวนการทางเคมีสิ่งทอ) พบว่านักศึกษา มีความกระตือรือร้น สนใจและตั้งใจเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในห้องเรียนมากขึ้นจากการลงมือทำและช่วยกันคิดเวลาทำกิจกรรมกลุ่ม -ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ ไพศาลสุทธิชล ได้นำโปรแกรม Zip Grade มาใช้ในการตรวจข้อสอบ Final Lab รายวิชา คม 210 (เคมีวิเคราะห์) ซึ่งทำให้นักศึกษาทราบผลคะแนนหลังจากสอบเสร็จ สามารถทำให้เด็กประเมินตนเอง และวางแผนในการสอบปลายภาคได้เพราะทราบคะแนนเก็บแล้ว นอกจากนี้ยังใช้ในการตรวจข้อสอบเตรียมความพร้อมก่อนไปฝึกงานของนักศึกษาสาขาวิชาเคมีก่อนไปฝึกงาน โดยได้ทดลองใช้มา 2 เทอมแล้ว และกำลังนำไปขยายผลยังวิชาอื่นๆที่มี Lab ปฏิบัติการในสาขาวิชา ซึ่งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลอย่างต่อเนื่อง - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรี อินธนู ได้นำโปรแกรม Kahoot มาใช้ในรายวิชา คอ 441 (เชื้อเพลิงและเทคโนโลยีเชื้อเพลิง) ในส่วนของการสอบก่อนและหลังเรียน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ นศ มีการเตรียมตัวเองก่อนเพื่อให้ได้คะแนนที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนและขยายผลไปยังผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุษารัตน์ รัตนคำนวณ คณาจารย์ในสาขาวิชา เพื่อนำไปทดลองใช้ในรายวิชาอื่นๆที่เปิดสอนในสาขาวิชาด้วย คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้นำองค์ความรู้จากกิจกรรมการจัดการความรู้ หัวข้อ"การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Smart Classroom)" มาปรับใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ โดยการนำโปรแกรมมาใช้ในการเรียนการสอนได้แก่ การใช้โปรแกรม Kahoot มาใช้ในการตั้งคำถาม ถาม-ตอบคำถามออนไลน์ และ “การใช้โปรแกรม Zip Grade สำหรับตรวจคำตอบ” ซึ่งการนำโปรแกรมมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น เช่นโปรแกรมถามตอบคำถามออนไลน์ และทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น และสนใจในการเรียนมากขึ้น และการใช้โปรแกรม Zip Grade มาตรวจคำตอบ ทำให้มีความรวดเร็วและสะดวก ในการตรวจข้อสอบ ซึ่งคณาจารย์ที่ได้นำโปรแกรมไปใช้ในการเรียนการสอนได้แก่ - รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี คงดี อัลเดรด ได้นำโปรแกรม Kahoot มาใช้ในการทดสอบนักศึกษาหลังเรียน รายวิชา รายวิชา คอ 362 (กระบวนการทางเคมีสิ่งทอ) พบว่านักศึกษา มีความกระตือรือร้น สนใจและตั้งใจเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในห้องเรียนมากขึ้นจากการลงมือทำและช่วยกันคิดเวลาทำกิจกรรมกลุ่ม -ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ ไพศาลสุทธิชล ได้นำโปรแกรม Zip Grade มาใช้ในการตรวจข้อสอบ Final Lab รายวิชา คม 210 (เคมีวิเคราะห์) ซึ่งทำให้นักศึกษาทราบผลคะแนนหลังจากสอบเสร็จ สามารถทำให้เด็กประเมินตนเอง และวางแผนในการสอบปลายภาคได้เพราะทราบคะแนนเก็บแล้ว นอกจากนี้ยังใช้ในการตรวจข้อสอบเตรียมความพร้อมก่อนไปฝึกงานของนักศึกษาสาขาวิชาเคมีก่อนไปฝึกงาน โดยได้ทดลองใช้มา 2 เทอมแล้ว และกำลังนำไปขยายผลยังวิชาอื่นๆที่มี Lab ปฏิบัติการในสาขาวิชา ซึ่งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลอย่างต่อเนื่อง - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรี อินธนู ได้นำโปรแกรม Kahoot มาใช้ในรายวิชา คอ 441 (เชื้อเพลิงและเทคโนโลยีเชื้อเพลิง) ในส่วนของการสอบก่อนและหลังเรียน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ นศ มีการเตรียมตัวเองก่อนเพื่อให้ได้คะแนนที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนและขยายผลไปยังผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุษารัตน์ รัตนคำนวณ คณาจารย์ในสาขาวิชา เพื่อนำไปทดลองใช้ในรายวิชาอื่นๆที่เปิดสอนในสาขาวิชาด้วย
กิจกรรมประจำปี :
2561
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบกิจกรรม

ประมวลภาพกิจกรรม
การจัดการเรียนรู้ในศตวรราที่ 21
โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับช่วยในการจัดการเรียนการสอน
สรุปองค์ความรู้และแนวปฏิบัติ จากการจัด KM หัวข้อ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 Smart Classroom